welcome to blogger ทศภาพ ปกป้อง 207 °-°

welcome

welcome
welcome

หน้าเว็บ

ครูไทย

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

6-การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา 

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

          การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา กรุงศรีอยุธยาถือกำเนิด เมื่อประมาณ พ.ศ.1893 ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งในขณะนั้น ได้มีอาณาจักรคนไทยอื่น ๆ ตั้งบ้านเมืองเป็นชุมชนที่เจริญอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ละโว้ (ลพบุรี) อู่ทอง (สุพรรณภูมิ) และอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งกำลังเสื่อมอำนาจลงมาแล้ว

แคว้นอู่ทองหรือสุพรรณภูมิ
            แคว้นอู่ทองเป็นชุมชนของคนไทย ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง   มีการค้นพบซากเมืองโบราณและหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ในเขตตัวเมืองอู่ทอง (อยู่ริมแม่น้ำจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) และในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี

            ศูนย์กลางความเจริญของแคว้นอู่ทองอยู่ที่ตัวเมืองอู่ทอง จากหลักฐานที่ค้นพบ ทำให้เชื่อว่า เมืองอู่ทอง เป็นชุมชนโบราณที่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร) จนกระทั่งมีความเจริญสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 - 13 และถือว่ามีอายุเก่าแก่มากกว่าเมืองโบราณที่นครปฐม

            การค้นพบศิลปะโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยทวารวดี ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 ทำให้สันนิษฐานว่า ก่อนในช่วงดังกล่าว อาณาจักรทวารวดีมีอิทธิพลเหนือดินแดนแห่งนี้ หลังจากนั้น เมืองอู่ทอง ได้เสื่อมอำนาจและลดความสำคัญลง โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 - 19 เมืองสุพรรณบุรี กลับมีความเจริญเข้ามาแทนที่

            แค้วนอู่ทองหรือสุพรรณบุรี อาจเป็นเมืองเดิมของพระเจ้าอู่ทองก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พระเจ้าอู่ทอง ทรงพาผู้คนอพยพหนีโรคระบาดจากแคว้นสุพรรณภูมิมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุง ศรีอยุธยา และต่อมาทรงตั้งให้ ขุนหลวงพะงั่ว ญาติผู้ใหญ่ของพระองค์ไปครองเมืองสุพรรณบุรีแทนแคว้นละโว้หรือลพบุรี

แคว้นละโว้หรือลพบุรี
             เมืองละโว้เป็นชุมชนโบราณ ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 โดย "พระยากาฬวรรณดิศราช" กษัตริย์นครปฐมเป็นผู้สั่งให้สร้างเมืองละโว้ขึ้น ในพ.ศ. 1002 แต่ทั้งเมืองละโว้ นครปฐม อู่ทอง และสุพรรณภูมิ ล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ทั้งสิ้น โดยละโว้มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองลูกหลวงทางด้านตะวันออกของอาณาจักร

            แคว้นละโว้มีความเจริญทางวัฒนธรรมและเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ความเจริญของละโว้แผ่ขยาย ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณปากอ่าวไทยขึ้นไปตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออกจน ถึง เมืองนครสวรรค์และเมืองหริภุญไชย

            แคว้นละโว้เริ่มรับวัฒนธรรมฮินดูและพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายานจากเขมรอย่างมาก ตั้งแต่ในพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา โดยเชื่อว่าแคว้นละโว้ตกอยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของเขมร เพราะก่อนหน้านี้ละโว้เคยส่งทูตไปเมืองจีนอย่างสม่ำเสมอ แต่หลังจาก พ.ศ.1544 ก็ไม่ได้ส่งไปอีกเลย

แคว้นละโว้ย้ายราชธานีใหม่ ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 17

               แคว้นละโว้ถูกคุกคามโดยกองทัพของพระเจ้าอโนรธามังช่อ กษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกาม (พม่า) เมื่อประมาณ พ.ศ. 1601
               พระนารายณ์กษัตริย์ของแคว้นละโว้ ได้ย้ายราชธานีใหม่มาตั้งตรงปากแม่น้ำลพบุรี (บริเวณที่แม่น้ำลพบุรีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา) เมื่อ พ.ศ. 1625 และตั้งชื่อว่า "กรุงอโยธยา" ส่วนเมืองละโว้เดิมได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ลพบุรี" และมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงอโยธยา หรือแคว้นอโยธยา ตั้งแต่บัดนั้น


กรุงอโยธยา หรือแคว้นอโยธยา

            แค้วนอโยธยามีอำนาจปกครองในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างจนถึงพุทธ ศตวรรษที่ 19  สันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น ได้อพยพพาผู้คนมาตั้งเมืองใหม่ที่ หนองโสน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่เดิมมากนัก สถาปนาเป็นกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1893 และยกฐานะ ลพบุรี ให้เป็นเมืองลูกหลวงการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

            สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นผู้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 ซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า พระองค์สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด และมีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากที่ใด มีข้อสันนิษฐานในเรื่องดังกล่าว 3 ประการ ดังนี้

            มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอู่ทอง แคว้นสุพรรณภูมิ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1890 เมืองอู่ทองซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำจระเข้สามพัน ประสบภัยธรรมชาติ ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน ขาดแคลนน้ำ จึงเกิดโรคระบาด (โรคห่าหรืออหิวาตกโรค) มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงทรงทิ้งเมือง อพยพผู้คนข้ามฟากแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) ใช้เวลาสร้างเมืองใหม่ 3 ปี และสถาปนาขึ้นเป็นกรุงศรีอยุธยา ราชธานีแห่งใหม่ ใน พ.ศ.1893
             มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอโยธยา บริเวณปากแม่น้ำลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นละโว้ โดยพระเจ้าอู่ทองทรงอพยพไพร่พลทิ้งเมืองอโยธยา หนีภัยอหิวาตกโรคระบาด มาสร้างเมืองใหม่เช่นกัน มีฐานะเป็นพระราชโอรสของแคว้นละโว้ พระราชบิดาของพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นละโว้ และมอบหมายให้พระเจ้าอู่ทองไปครองเมืองเพชรบุรี ในฐานะเมืองลูกหลวง ครั้งเมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระเจ้าอู่ทองจึงเสด็จกลับมาครองราชวมบัติในแคว้นละโว้ และต่อมาได้ย้ายมาตั้งราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา
            การถือกำเนิดของอาณาจักรอยุธยา ใน พ.ศ. 1893 เป็นช่วงที่อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยอีกกลุ่มหนึ่งทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่ม เสื่อมอำนาจลง ตรงกับรัชการพระมหาธรรมราชาลิไทยแห่งกรุงสุโขทัย ในขณะที่ดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างก็ยังคงมีแคว้นของคนไทยตั้งบ้าน เมืองมั่นคงเป็นปึกแผ่นอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ลพบุรี และสุพรรณบุรี ซึ่งต่อมาถูกรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาในที่สุดปัจจัยที่ สนับสนุนให้การสถาปนากรุงศรีอยุธยาประสบความสำเร็จ

ปัจจัยที่สนับสนุนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา

        1. ความเข้มแข็งทางการทหาร สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นละโว้ หรือดเป็นเจ้าเมืองที่มาจากเมืองอู่ทองอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงมีกำลังทหารเข้มแข็ง มีกำลังไพร่พลมาก และมีลักษณะเป็นผู้นำทางการเมืองที่ผู้คนยอมรับ จึงให้การสนับสนุนในด้านกำลังคนอย่างเต็มที่

        2. การดำเนินนโยบายทางการทูตที่เหมาะสมกับดินแดนใกล้เคียง พระเจ้าอู่ทองได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งแคว้นสุพรรณภูมิ จึงเป็นการเชื่อมโยงแค้วนละโว้และแคว้นสุพรรณภูมิให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว กัน ทำให้ทั้งสองอาณาจักรลดการแข่งขันทางการเมืองซึ่งกันและกัน

        3. การปลอดอำนาจทางการเมืองภายนอก ในขณะนั้น อาณาจักรสุโขทัยของคนไทยด้วยกันที่อยู่ทางตอนเหนือ และอาณาจักรเขมร ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง จึงไม่สามารถสกัดกั้นการก่อตั้งอาณาจักรใหม่ของคนไทยได้

        4. ทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์ กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำไหลผ่าน ถึง 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา   ป่าสักและลพบุรี   ทำให้เป็นที่ราบลุ่มต่ำ ข้าศึกจะล้อมกรุงศรีอยุธยาได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมรอบตัวเมืองทำให้ข้าศึกต้องถอนทัพกลับไป

        5. ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านเศรษฐกิจ ลักษณะภูมิประเทศของอยุธยาเป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่ น้ำที่สำคัญ   ประกอบกับอยู่ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีการคมนาคมทางน้ำสะดวกทำให้สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศได้ง่ายการ สร้างความมั่นคงของอาณาจักรอยุธยา

           ภายหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพยายามสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นให้แก่ อาณาจักร โดยการดำเนินการทางการเมือง ดังต่อไปนี้

          1. การขยายอำนาจไปยังอาณาจักรเขมร เนื่องจากเขมรเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคนี้มาก่อน มีอาณาจักรตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอยุธยา ทำให้คนไทยเกิดความหวาดระแวงไม่ปลอดภัย

          รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง ได้ส่งกองทัพอยุธยาไปตีเขมร  2   ครั้ง ใน พ .ศ. 1895 และ 1896 ทำให้เขมรเสื่อมอำนาจลง ต้องย้ายเมืองหลวงหนี ทางฝ่ายไทยได้กวาดต้อนพราหมณ์ในราชสำนักเขมรมายังกรุงศรีอยุธยา เป็นผลให้เกิดการแพร่หลาย ศิลปวัฒนธรรมเขมรในไทยมากขึ้น
          รัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (สมเด็จพระเจ้าสามพระยา) เขมรต้องตกเป็นประเทศราชของไทย ทางอยุธยายินยอมให้เขมรได้ปกครองตนเอง โดยส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี

2. การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เหตุการณ์สำคัญดังนี้

           รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง กองทัพอยุธยาตี เมืองสรรค์(ชัยนาท) เมืองหน้าด่านของสุโขทัยไว้ได้ใน พ .ศ. 1900  แต่พระยาลิไทย กษัตริย์สุโขทัยได้ส่งทูตมาเจรจาขอคืน ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรทั้งสองยังดำเนินไปด้วยดี
           รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้ยกกองทัพไปตีอาณาจักรสุโขทัยหลายครั้ง ใน พ.ศ. 1921 ได้เข้ายึดเมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) เมืองหน้าด่านของอาณาจักรสุโขทัย พระยาไสยลือไทย กษัตริย์สุโขทัยต้องยอมอ่อนน้อมไม่คิดต่อสู้ ทำให้อยุธยามีอำนาจเหนืออาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่บัดนั้น โดยยินยอมให้สุโขทัยปกครองตนเองในฐานะประเทศราช
           รัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช ได้เสด็จขึ้นมาไกล่เกลี่ยปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระราชวงศ์ของ สุโขทัยด้วยกัน ใน พ.ศ. 1962 จนเหตุการณ์ยุติด้วยดี ในรัชกาลนี้สุโขทัยกับอยุธยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกันมากขึ้น เมื่อมีการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าสามพระยาพระโอรสแห่งกรุงศรีอยุธยากับพระ ธิดาแห่งกรุงสุโขทัย
           รัชกาลพระบรมราชาธิราช ที่ 2 (สมเด็จเจ้าสามพระยา) โปรดให้พระราชโอรส พระราเมศวร (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) ในฐานะที่ทรงมีเชื้อสายสุโขทัย ขึ้นปกครองอาณาจักรสุโขทัย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ พิษณุโลก   เป็นผลให้สุโขทัยกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 1983 เป็นต้นมา

           3. การขยายดินแดนให้กว้างขวาง ทำให้เป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองของคนไทย  อาณาจักรอยุธยาได้ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมพื้นที่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งตอนบนและตอนล่าง กลายเป็นอาณาจักรของคนไทยที่เข้มแข็งที่สุด และเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจทางการเมืองของคนไทยในสมัยนั้นอย่างแท้จริง มีอาณาเขต ดังต่อไปนี้

           ทิศเหนือ จรดอาณาจักรล้านนา และสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยด้วยกัน ต่อมาสุโขทัยถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา ในขณะที่อาณาจักรล้านนาตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาและพม่าสลับกัน
           ทิศตะวันออก จรดอาณาจักร เขมรหรือขอม ซึ่งบางสมัยต้องตกเป็นประเทศราชของไทย และบางสมัยก็แข็งเมืองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อไทย
           ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นอาณาจักรของชนชาติลาว มีความเข้มแข็งทางการเมืองรองจากอยุธยา และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
           ทิศตะวันตก อยุธยามีอำนาจครอบครองอาณาจักรมอญ แถบเมืองหงสาวดี เมืองเมาะตะมะ เมืองทวาย เมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด แต่ต่อมาก็ต้องสูญเสียให้แก่พม่าในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21
ทิศใต้ อยุธยามีอำนาจเหนือแคว้นนครศรีธรรมราช และหัวเมืองมะลายูบางเมือง เช่น ปัตตานี กลันตัน และไทรบุรี เป็นต้น

 

ดินแดนไทยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไทย

5-ดินแดนไทยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไทย


ดินแดนไทยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไทย

          เมื่อสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  อาณาจักรสุโขทัยก็เสื่อมลง  พระมหากษัตริย์ที่สืบราชสมบัติต่อจากพ่อขุนรามคำแหง คือ พระยาเลยไทย (รัชกาลที่ 4) และพระยางั่วนำถม (รัชกาลที่ 5) ไม่สามารถรักษาอาณาจักรให้คงสภาพเดิมได้ บรรดาหัวเมืองและอาณาจักรที่เคยอยู่ในอำนาจต่างพากันแข็งเมืองตั้งตนเป็น อิสระ ในจำนวนนี้มีเมืองสำคัญคือ เมืองอู่ทอง

ชุมชนไทยก่อนการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

            อาณาจักรโบราณในดินแดนไทย ก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยจะก่อตั้งขึ้นในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ดินแดนของประเทศในอดีต เป็นแหล่งชุมชนที่มีความเจริญ เป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณหลายแห่ง ได้แก่ อาณาจักรทวารวดี  ฟูนัน ศรีวิชัย และนครศรีธรรมราช เป็นต้น   สันนิษฐานว่าเป็นอาณาจักรของชนชาติมอญและขอม
            การก่อกำเนิดอาณาจักรสุโขทัย เมื่อประมาณ พ.ศ.1780 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ทำสงครามขับไล่ชนชาติขอม   รวบรวมคนไทยให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้ง อาณาจักรสุโขทัยขึ้น ซึ่งในบริเวณดินแดนใกล้เคียงดังกล่าว ก็ยังมีผู้นำคนไทยที่ตั้งตัวเป็นอาณาจักรอิสระอีกแห่งหนึ่ง คือ อาณาจักรล้านนา

อาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 1893 - 2310

            ใน  พ.ศ.  1890   ซึ่งเป็นปีที่พระมหาธรรมราชาที่ 1  (ลิไทย) ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัยนั้น  เมืองอู่ทองเกิดภัยธรรมชาติ  ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน  เกิดขาดแคลนน้ำ  อหิวาตกโรคระบาดทำให้ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก  เจ้าเมืองอู่ทองจึงอพยพผู้คนไปยังทำเลที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ (เชื่อว่าเป็นบริเวณที่เป็นวัดพุทธสวรรย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาปัจจุบัน)  ทรงสร้างพระราชวังขึ้นที่ริมหนองโสน (บึงพระราม)  แล้วประกาศสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ใน พ.ศ. 1893  และเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์  ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  (พระเจ้าอู่ทอง)   กรุงศรีอยุธยาเป็นทำเลที่มีพื้นที่อันมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ถือกันว่าเหมาะ  คือ  มีแม่น้ำ  3  สาย  ไหลผ่าน  ได้แก่

แม่น้ำลพบุรี                ไหลจากทิศเหนือโอบอ้อมไปทางทิศ
แม่น้ำเจ้าพระยา         ไหลผ่านทางทิศใต้
แม่น้ำป่าสัก                ไหลผ่านทางทิศตะวันออก

           จึงทำให้ผืนแผ่นดินนี้มีลักษณะเป็นเกาะ  เป็นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร  สะดวกแก่การคมนาคมติดต่อกับต่างประเทศเพราะใกล้ทะเลเป็นชุมทางค้าขายที่ สำคัญ  ทั้งยังมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์  มีแม่น้ำล้อมรอบ  เป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติได้อย่างดี  ยากที่ข้าศึกจะเข้าโจมตีหรือล้อมกรุงไว้ได้นาน  เพราะเมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำก็จะท่วมถึงบริเวณนี้โดยรอบอีกด้วย

การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์

4-การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์



การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์

             หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรจะมีการเขียนเรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์  เรื่องราวที่จดบันทึกไว้เรียกว่าข้อมูล  เมื่อจะใช้ข้อมูลควรต้องดาเนินการ ดังนี้

            1. การแยกแยะความแตกต่าง ระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น ข้อมูลเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ นั้นจะมีทั้งข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นของผู้เขียน ผู้บันทึก หรือผู้แต่ง ข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งอาจตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันบ้าง แต่ความคิดเห็น เป็นส่วนที่ผู้เขียน  ผู้บันทึก  หรือผู้แต่ง ผู้ใช้หลักฐาน คิดว่าข้อมูลที่ถูกต้องน่าจะเป็นอย่างไร

            2. การแยกแยะระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริง ข้อมูลหรือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เรียกว่า ข้อเท็จจริง คำว่า ข้อเท็จจริง แยกออกเป็น ข้อเท็จจริงกับข้อจริง เรื่องราวทางประวัติศาสตร์จึงประกอบด้วย

              ข้อเท็จจริงกับข้อจริงหรือความจริง เช่น
              เรื่องราวการเสีย กรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2112) การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2( พ.ศ. 2310 )
ความจริง คือ ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2112  และ  พ.ศ. 2310
ส่วนข้อเท็จจริง  คือ  ข้อมูลที่เป็นคำอธิบายที่ปรากฏในหลักฐานทั้งหลายว่า  ทำไมไทยจึงเสียกรุงศรีอยุธยา  เช่น

                คนไทยเตรียมตัวไม่พร้อม  ผู้น่าอ่อนแอและมีความแตกแยกภายใน  ทหารมีจำนวนน้อย  มีอาวุธล้าสมัยและมีจำนวนไม่พอเพียง ข้าศึกมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีความสามารถสูง  มีทหารจำนวนมากกว่าและมีอาวุธดีกว่า  ค าอธิบายดังกล่าวอาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริง  ดังนั้นจึงเรียกคำอธิบายหรือเหตุผลว่า  ข้อเท็จจริง ดังนั้น  ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์  นักเรียนจึงต้องค้นคว้าข้อมูลจากหลักฐาน หลายแหล่งหรืออ่านหนังสือหลายเล่ม  เพื่อจะได้สามารถแยกแยะว่าเรื่องใดเป็นความจริง เรื่องใดเป็นข้อเท็จจริง  เรื่องนี้ยังเป็นประโยชน์ในการรับรู้  รับฟังข้อมูลหรือเรื่องราวทั้งหลายในชีวิตประจำวันว่าเรื่องใดควรเชื่อ  และเรื่องใดไม่ควรเชื่อ



ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย

            ขั้นการกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้น อย่างไร

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล 

            หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

            วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบ คู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการ วิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน 

           การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐ์กรรม ต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม

ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล

            จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้นลักษณะ ประเภท และความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์

         ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่คนในอดีตสร้างเอาไว้ เป้าหมายของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 แหล่งอารยธรรม ในทวีปเอเชีย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 แหล่งอารยธรรม ในทวีปเอเชีย

1.ประวัติศาสตร์ของเอเชีย
 ประวัติศาสตร์ของเอเชีย ปรากฏให้เห็น ในรูปของประวัติศาสตร์ภูมิภาคชายฝั่งรอบนอกของทวีปหลาย ๆภูมิภาคที่มีความแตกต่างกัน คือเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และตะวันออกกลาง ซึ่งพื้นที่ทั้ง 3 ภูมิภาคนี้ถูกเชื่อมโยงติดต่อกันโดยดินแดนแห่งทุ่งหญ้ายูเรเชียที่กว้างใหญ่ไพศาลภายในทวีป
พื้นที่ชายฝั่งทวีปเอเชียคือพื้นที่ที่ อารยธรรมยุคแรก ๆ ก่อกำเนิดขึ้น ทั้ง 3 ภูมิภาคพัฒนาอู่อารยธรรมของตนขึ้นมาบนพื้นที่บริเวณดินแดนลุ่มแม่น้ำที่อุดม สมบูรณ์ 3 สาย คือ
อู่อารยธรรมทั้ง 3 มีความเหมือนกันหลายประการ และคงมีการติดต่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี่และแนวความคิดระหว่างกันด้วย เช่น ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ และการประดิษฐ์ล้อวงกลม เป็นต้น ขณะที่ความคิดอื่นๆ เช่นตัวอักษรนั้นคงมีการพัฒนาแยกเป็นอิสระจากกันในแต่ละภูมิภาค แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำทั้ง 3 ของเอเชียได้เจริญรุ่งเรื่อง พัฒนาเข้าสู่ความเป็น "รัฐ" แล้วขยายอำนาจกลายเป็นอาณาจักรใหญ่ หรือ "จักรวรรดิ" ได้ในเวลาต่อมา
ภูมิภาคทุ่งหญ้าที่แห้งแล้งภายในของทวีป เอเชียนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าเร่ร่อน (nomads) ที่ขี่ม้า เลี้ยงสัตว์ อยู่ในดินแดนแห่งนี้มาเป็นเวลายาวนาน การมีม้าเป็นพาหนะทำให้พวกเขาสามารถเดินทางจากใจกลางทุ่งโล่งภายในทวีปออกไป ยังดินแดนส่วนอื่นๆของทวีปได้ การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากทุ่งหญ้าครั้งแรกสุดที่รู้จักกันคือกลุ่มอินโด-ยู โรเปียน ซึ่งส่งผลให้เกิดการถ่ายทอดภาษาของกลุ่มออกไปยังดินแดนในตะวันออกกลาง อินเดีย เข้าไปถึงโตชาเรียนและชายแดนจีน ส่วนพื้นที่ทางเหนือของทวีปเอเชีย ซึ่งครอบคลุมส่วนใหญ่ของไซบีเรียนั้นยังเป็นพื้นที่ที่ชนเผ่าเร่ร่อนเหล่า นี้เดินทางไปไม่ถึงเนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าทึบและเป็นเขตทุ่งน้ำแข็งที่ หนาวเย็น พื้นที่บริเวณนี้จึงมีฝูงชนอาศัยอยู่เบาบางมาก
พื้นที่ใจกลางทวีปและแหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำชายขอบทวีปถูกแยกออกจากกันโดยแนวเทือกเขาสูงและทะเลทรายที่กว้างใหญ่ เช่น เทือกเขาคอเคซัส เทือกเขาหิมาลัย ทะเลทรายคาราคูม ทะเลทรายโกบี เป็น ต้น เทือกเขาและทะเลทรายเหล่านี้ได้กลายเป็นอุปสรรคขัดขวางสำคัญที่ทำให้ชนเผ่า เร่ร่อนบนหลังม้าต้องเดินทางด้วยความยากลำบากกว่าจะสามารถรุกข้ามไปยัง พื้นที่ลุ่มชายฝั่งได้ ขณะที่ประชากรเมืองที่อาศัยอยู่ในแหล่งอารยธรรมเหล่านี้มีความก้าวหน้าทั้ง ทางด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรมมากกว่าชนเผ่าเร่ร่อนมาก แต่ก็ตกเป็นรองผู้รุกรานบนหลังม้ามากทางด้านการทหาร ทำให้กลายเป็นผู้พ่ายแพ้ไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากดินแดนในที่ลุ่มเหล่านี้ไม่มีทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่สำหรับเลี้ยงดู กองทัพม้าขนาดมหึมาของผู้รุกรานได้ ท้ายที่สุด ชนเผ่าเร่รอนผู้พิชิตรัฐต่างๆ ทั้งในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง จึงถูกบีบให้ปรับตัวเข้ากับสังคมท้องถิ่นที่ตนเป็นฝ่ายรุกรานครอบครองไป

หน่วยการเรียนรู้ที่1หลักฐานประวัติศาสตร์


  • 1.หลักฐานประวัติศาสตร์
                                         หลักฐานทางประวัติศาสตร์          นักประวัติศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ชื่อ มาร์ค บลอค Marc Block ได้ ให้ความหมายเกี่ยวกับ หลักฐานประวัติศาสตร์ ว่า หลักฐานประวัติศาสตร์ คือร่องรอยพฤติกรรม การพูด การเขียน การประดิษฐ์คิดค้นการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งที่มีอยู่ภายในหลักฐานก็คือ ร่องรอย ความรู้สึกนึกคิด โลกทัศน์และจารีตประเพณีของมนุษย์ในอดีตที่อาจ ตกทอดถึงปัจจุบัน โดยมีร่องรอยอยู่ในธรรมชาติและวัฒนธรรมของมนุษย์
          สรุปว่า หลักฐานประวัติศาสตร์ หมาย ถึงร่องรอยการกระทำ การแสดง การพูด การเขียน การประดิษฐ์ สิ่งก่อสร้าง ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ รวมทั้งความคิดอ่าน ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ที่ได้ทิ้งร่องรอยเอาไว้ ในบริเวณที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งกล่าวได้ว่า อะไรก็ตามที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ก็ใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น 





ประเภทหลักฐานประวัติศาสตร์
1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
    1.1 หลักฐานชั้นต้น 
    1.2 หลักฐานชั้นรอง
2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
    2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
    2.2 
หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
    2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
    3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
    3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง




1.1 หลักฐานชั้นต้น primary sources
        หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ

1.2 หลักฐานชั้นรอง
 secondary sources
         หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น


2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sources
        หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
        หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ


3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artiface 
        หมายถึง หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง 
        หมายถึง วิธีการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยาก เห็นของผู้ต้องการ ศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้า หาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน




ช่วงเวลา ศักราช 


การนับและเทียบศักราชสากลและไทย
          1. การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซูประสูติ (25 ธันวาคม) หลัง พุทธศักราช 543 ปี ซึ่งพระเยซูเป็นศาสดาของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini” การนับศักราช ก่อนที่พระเยซูประสูติ เรียกว่า before christ เขียนย่อ ๆ ว่า B.C. ตัวอย่าง 1,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เขียนว่า 1,000 B.C. หมายความว่า เป็นช่วงเวลา 1,000 ปี ก่อนพระเยซูประสูติ
          
2. การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน (วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6) แล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็น พ.ศ.0 เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1
          นอก จากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ. แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่น ๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.) ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) มีเกณฑ์การเทียบดังนี้

การเทียบศักราช
ร.ศ. + 2324 = พ.ศ.พ.ศ. - 2324 = ร.ศ.

จ.ศ. + 1181 = พ.ศ.พ.ศ. - 1181 = จ.ศ.

ม.ศ. + 621   = พ.ศ.พ.ศ. - 621 = ม.ศ.

ค.ศ. - 579   = ฮ.ศ.พ.ศ. - 1122 = ฮ.ศ.

ตัวอย่าง
ร.ศ.1+2324 = พ.ศ. 2325ร.ศ. 227  = พ.ศ. 2551
จ.ศ.1+1181 = พ.ศ. 1182จ.ศ.1370 = พ.ศ. 2551
ม.ศ.1+621 = พ.ศ. 622ม.ศ.1930 = พ.ศ. 2551
(ค.ศ. 2008 - 579) = (พ.ศ. 2551-1122) = ฮ.ศ.1429


        3. ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1165 เมื่อปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด อพยพจากเมืองเมกกะ (มักกะหฺ) ไปยังเมืองเมดีนา (มะดีนะหฺ) โดย ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165 แต่การเทียบรอบปี ของ ฮ.ศ. กับ พ.ศ. มีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน โดยทุก ๆ 32 ปีครึ่ง ของ ฮ.ศ. จะเพิ่มขึ้น 1ปี เมื่อเทียบกับ พ.ศ. ปัจจุบัน ฮ.ศ. น้อยกว่า พ.ศ. 1122 ปีและน้อยกว่า ๕.ศ. 579 ปี   ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใช้ฮิจญ์เราะหฺศักราชเพื่อประกอบศาสน กิจ โดยฟังประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรี 
        4. จุลศักราช (จ.ศ.) เป็น การนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ เริ่มนับ จ.ศ. 1 เมื่อปี พ.ศ. 1182 โดยนับเอาวันที่พระบุพโสระหัน สึกออกจากการเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์เป็นวันแรกของศักราช ในสมัยโบราณถือตามสุริยคติ (คัมภีร์สุริยยาตร) ใช้วันเถลิงศก (ปัจจุบันตกราว 16 เมษายน) เป็นวันปีใหม่ แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ถือตามจันทรคติ คือใช้วันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปีเป็นวันสิ้นปี 


การเรียกปีจุลศักราชมีดังนี้
        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 1 เรียกว่า เอกศก เช่น วันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำเดือน 5 ปีกุนเอกศก จุลศักราช 1381
        ตรงกับวันที่ 7 เดือนเมษายน ปีกุน พ.ศ. 2562 ค.ศ. 2019 



        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข เรียกว่า โทศก เช่น วันพุธ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ปีชวดโทศก จุลศักราช 1382 
        ตรงกับ วันที่ 6 เดือนพฤษภาคม ปีชวด พ.ศ. 2563 ค.ศ. 2020 

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 3 เรียกว่า ตรีศก เช่น วันศุกร์ แรม 10 ค่ำเดือน 10 ปีฉลูตรีศก จุลศักราช 1383
        ตรงกับ วันที่ 1 เดือนตุลาคม ปีฉลู พ.ศ. 2564 ค.ศ. 2021 

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 4 เรียกว่า จัตวาศก เช่น วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำเดือน 11ปีขาลจัตวาศก จุลศักราช 1384 
        ตรงกับวันที่ 3 เดือนตุลาคม ปีขาล พ.ศ. 2565 ค.ศ. 2022 

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 5 เรียกว่า เบญจศก เช่น วันเสาร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะเบญจศก จุลศักราช 1385 
        ตรงกับวันที่ 27 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ค.ศ. 2023

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 6 เรียกว่า ฉศก เช่น วันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรงฉศก จุลศักราช 1386 
        ตรงกับวันที่ 15 เดือนกันยายน ปีมะโรง พ.ศ. 2567 ค.ศ. 2024
        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 7 เรียกว่า สัปตศก เช่น วันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็งสัปตศก จุลศักราช 1387 
        ตรงกับ วันที่ 28 เดือนพฤษภาคม ปีมะเส็ง พ.ศ. 2568 ค.ศ. 2025

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 8 เรียกว่า อัฐศก เช่น วันพฤหัส ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมียอัฐศก จุลศักราช 1388
        ตรงกับ วันที่ 18 เดือนมิถุนายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2569 ค.ศ. 2026
        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข เรียกว่า นพศก เช่น วันศุกร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแมนพศก จุลศักราช 1389 
        ตรงกับ วันที่ 10 เดือนกันยายน ปีมะแม พ.ศ. 2570 ค.ศ. 2027
        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 0 เรียกว่า สัมฤทธิศก เช่น วันอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก สัมฤทธิศก จุลศักราช 1380 
        ตรงกับ วันที่ 30 เดือนพฤษภาคม ปีวอก พ.ศ. 2571 ค.ศ. 2028




  • 2.การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์
                                           การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์

        การศึกษาประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเรื่องราวการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์อาศัยอยู่บนโลกจนถึงปัจจุบัน 
        ซึ่งเราก็ไม่ทราบแน่ชัดว่า โลกเราเริ่มมีมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อไร เพียงแต่สันนิษฐาน โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยการสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ 
        แต่จะให้แม่นยำในเรื่องของระยะเวลา ก็ต้องเป็นการบันทึกเหตุการณ์ โดยมนุษย์เองซึ่งก็ต้องเป็นสมัยที่มนุษย์ มีการสื่อสารโดยใช้ตัวอักษรแล้ว 
        แต่การศึกษาประวัติศาสตร์นั้นมิได้เริ่มศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ตั้งแต่มนุษย์เริ่มใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร 
        ฉะนั้นการคำนวณระยะเวลาเพื่อให้แม่นยำมากที่สุดต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เช่นการสลายตัวของกัมมันตรังสี 
        หรือการนำสารคาร์บอนจากหลักฐานที่ต้องการตรวจสอบ ไปตรวจวัดด้วยเครื่องไอโซโทป อายุของหลักฐานชิ้นนั้นก็จะปรากฏให้เราทราบ ซึ่งเป็นที่นิยมของนักประวัติศาสตร์เพื่อแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ 
        การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ก็เพื่อให้เราศึกษาประวัติศาสตร์ได้สะดวกและง่ายขึ้น ทำให้เราเข้าใจว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นในช่วง ระยะเวลาใด 
        สามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ ที่ส่งผลตามมา นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี ได้แบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ ตามหลักฐาน โดยแบ่งออกเป็น 2 สมัยดังนี้


1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
2. สมัยประวัติศาสตร์
         
        การแบ่งเป็น 2 สมัยแบบนี้ใช้ตัวอักษรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเหตุการณ์ก่อนที่มนุษย์จะมีตัวอักษรใช้ในการสื่อสาร สมัยประวัติศาสตร์มนุษย์มีตัวอักษรใช้ในการสื่อสารแล้ว 

1. การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์แบบสากล

1.1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
1.2. สมัยประวัติศาสตร์

2. การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย

2.1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
2.2. สมัยประวัติศาสตร์





1. ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร ์prehistory
          ประวัติศาสตร์ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์สมัยที่มนุษย์ ไม่มีตัวอักษรใช้ในการสื่อสาร การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนี้ ต้องศึกษาจากข้างของเครื่องใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ใช้ในการดำรงชีวิต โดยแบ่งเป็นสมัยต่าง ๆ ดังนี้
 1.1 ยุคหิน  Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว


1.1.1 ยุคหินเก่า  Palaeolithic หรือ Old Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว

  1.1.2 ยุคหินกลาง Mesolithic หรือ Middle Stone Age ระยะเวลาประมาณ 10,000-6,000 ปีมาแล้ว


  1.1.3 ยุคหินใหม่  Neolithic หรือ New Stone Age ระยะเวลาประมาณ 6,000-4,000 ปีมาแล้ว
1.2 ยุคโลหะ  Metal age ระยะเวลาประมาณ 4,000-1,500 ปีมาแล้ว


1.2.1 ยุคทองแดง Copper 5,000 BC - 2,500 BC

  1.2.2 ยุคสำริด Bronze 2,500 BC - 1,000 BC

  1.2.3 ยุคเหล็ก Iron 1,000 BC – 400 AD
  2.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ระยะเวลาประมาณ 3,500 ปี ถึง พุทธศตวรรษที่ 10
  2.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง ระยะเวลาประมาณ พุทธศตวรรษที่ 10 - 21
  2.3 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ระยะเวลาประมาณ พุทธศตวรรษที่ 22- 24

2. ยุคสมัยประวัติศาสตร์ history

  2.4 ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน ระยะเวลา พุทธศตวรรษที่ 25

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย
        การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย ก็มีการแบ่งยุคคล้ายกับการแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากล โดยแบ่งออกเป็น

1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
2. สมัยประวัติศาสตร์



1. ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ prehistory
          ประวัติศาสตร์ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์สมัยที่มนุษย์ ไม่มีตัวอักษรใช้ในการสื่อสาร การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนี้ ต้องศึกษาจากข้างของเครื่องใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ใช้ในการดำรงชีวิต โดยแบ่งเป็นสมัยต่าง ๆ ดังนี้

 1.1 ยุคหิน  Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
1.1.1 ยุคหินเก่า Palaeolithic หรือ Old Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
  1.1.2 ยุคหินกลาง  Mesolithic หรือ Middle Stone Age ระยะเวลาประมาณ 10,000-6,000 ปีมาแล้ว
  1.1.3 ยุคหินใหม่  Neolithic หรือ New Stone Age ระยะเวลาประมาณ 6,000-4,000 ปีมาแล้ว
1.2 ยุคโลหะ Metal age ระยะเวลาประมาณ 4,000-1,500 ปีมาแล้ว
1.2.1 ยุคทองแดง Copper 5,000 BC - 2,500 BC

1.2.2 ยุคสำริด Bronze 2,500 BC - 1,000 BC
1.2.3 ยุคเหล็ก Iron 1,000 BC – 400 AD



2. ยุคสมัยประวัติศาสตร์ history
          การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ในสมัยประวัติศาสตร์ของไทย ยึดตามประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ถือว่า ประมาณ พ.ศ. 800 เป็นช่วงเวลาสมัยประวัติศาสตร์ แต่โดยทั่วไปแบ่งตามระยะเวลาการใช้เมืองหลวงเรียกชื่อตามสมัย
2.1 ประวัติศาสตร์สมัยก่อนสุโขทัย ระยะเวลาประมาณ พ.ศ. 800 ปี ถึง พุทธศตวรรษที่ 18(พ.ศ.1792)
2.2 ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย ระยะเวลา ประมาณ พ.ศ. 1792 -2006
2.3 ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ระยะเวลา พ.ศ. 1893 - 2310
2.4 ประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี ระยะเวลา พ.ศ. 2310 - 2325
2.5 ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ ระยะเวลา พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน

หน่วยการเรียนรู้ที่1ความสำคัญและหลักฐานทางประวัติศาสตร์

หน่วยการเรียนรู้ที่1ความสำคัญและหลักฐานทางประวัติศาสตร์

        •1.วิธีการทางประวัติศาสตร์

                                                             วิธีการทางประวัติศาสตร์
        เฮโรโดตัส Herodotus บิดาแห่งประวัติศาสตร์ ได้นำคำว่า ประวัติศาสตร์ history มาจากคำในภาษากรีกว่า historeo ที่แปลว่า การถักทอ มาเขียนเป็นชื่อเรื่องราวการทำสงครามระหว่างเปอร์เซียกับกรีก โดยใช้หลักฐานต่าง ๆ เป็นข้อมูล ในการเขียนเป็นเรื่องราว ซึ่งคล้ายกับการถักทอผืนผ้าให้เป็นลวดลายที่ต้องการ เฮโรโดตัส Herodotus จึงเป็น นักประวัติศาสตร์คนแรก ที่นำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มาศึกษาเพื่อเขียนเป็นเรื่องราว อย่างไรก็ตาม การศึกษาเหตุการณ์ในอดีต อาจมีผู้สงสัยว่ามีทางเป็นไปได้หรือไม่และจะศึกษากันอย่างไร เนื่องจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วและ บางเหตุการณ์เกิดขึ้นมานานมาก จนสุดวิสัยที่คนปัจจุบันจะจำเรื่องราวหรือศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ด้วย ตนเอง นักประวัติศาสตร์ ได้อาศัยร่องรอยในอดีตเป็นข้อมูลในการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่ว่านี้เรียกว่า หลักฐานประวัติศาสตร์  

           วิธีการทางประวัติศาสตร์
           การศึกษาประวัติศาสตร์ มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใด รวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่นำมาใช้ เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้ หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน
          ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษา ประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่จะเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเกิดความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด
          ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
            วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีต ว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษา
ประวัติศาสตร์

  •  2.ขั้นตอนวิธีการประวัติศาสตร์      
                                                      ขั้นตอนวิธีการประวัติศาสตร์         

                                                          
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย
          ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้น อย่างไร

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล 
        หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ)
        การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นต้น
        ในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของ นักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง
        การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
        วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบ คู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการ วิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก
        การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ  การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือ เพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน
        การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความ เป็นจริง 

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน 
        การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรม ต่างๆ เพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
        ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่

ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์ข้อมูล
          ขั้น ตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น
ใน ขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา

สรุปวิธีการทางประวัติศาสตร์
        วิธีการทางประวัติศาสตร์กับการศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางปประวัติศาสตร์
1. การกำหนดประเด็นปัญหา
        เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาเรื่องราวในอดีตที่น่าสนใจ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การค้นคว้าและสืบค้นข้อมูลต่างๆ
2. การรวบรวมหลักฐาน
        เป็นการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายและแตกต่างกัน เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวที่ต้องการศึกษาค้นคว้า
3. การวิเคราะห์ การตีความและการประเมินหลักฐาน
        เป็นการตรวจสอบหลักฐาน โดยเน้นวิเคราะห์และตีความเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับมากที่สุด
4. การสรุปและเชื่อมโยงข้อเท็จจริง 
        เป็นการประมวลข้อมูลจากหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์
5. การนำเสนิข้อเท็จจริง
        นำเสนอข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษามาเรียบเรียงและอธิบายอย่างสมเหตุสมผล โดยจะต้องบอกที่มาของหลักฐานหรือแหล่งข้อมูลอย่างถูกต้องและเปิดเผย เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้
        สมัยรัตนโกสินทร์เป็นสมัยที่มีเหตุการณ์ต่อเนื่องมาจากอดีตมาถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนหน้านี้ ย่อมส่งผลกระทบมาจนถึงปัจจุบัน การศึกษาเหตุการณ์สำคัญ สามารถศึกษาจากหลักฐานที่เป็นเอกสารต่างๆ จำนวนมากเพื่อให้เข้าใจข้อมูลได้อย่างถูกต้องชัดเจน