welcome to blogger ทศภาพ ปกป้อง 207 °-°

welcome

welcome
welcome

หน้าเว็บ

ครูไทย

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

6-การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา 

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

          การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา กรุงศรีอยุธยาถือกำเนิด เมื่อประมาณ พ.ศ.1893 ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งในขณะนั้น ได้มีอาณาจักรคนไทยอื่น ๆ ตั้งบ้านเมืองเป็นชุมชนที่เจริญอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ละโว้ (ลพบุรี) อู่ทอง (สุพรรณภูมิ) และอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งกำลังเสื่อมอำนาจลงมาแล้ว

แคว้นอู่ทองหรือสุพรรณภูมิ
            แคว้นอู่ทองเป็นชุมชนของคนไทย ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง   มีการค้นพบซากเมืองโบราณและหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ในเขตตัวเมืองอู่ทอง (อยู่ริมแม่น้ำจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) และในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี

            ศูนย์กลางความเจริญของแคว้นอู่ทองอยู่ที่ตัวเมืองอู่ทอง จากหลักฐานที่ค้นพบ ทำให้เชื่อว่า เมืองอู่ทอง เป็นชุมชนโบราณที่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร) จนกระทั่งมีความเจริญสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 - 13 และถือว่ามีอายุเก่าแก่มากกว่าเมืองโบราณที่นครปฐม

            การค้นพบศิลปะโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยทวารวดี ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 ทำให้สันนิษฐานว่า ก่อนในช่วงดังกล่าว อาณาจักรทวารวดีมีอิทธิพลเหนือดินแดนแห่งนี้ หลังจากนั้น เมืองอู่ทอง ได้เสื่อมอำนาจและลดความสำคัญลง โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 - 19 เมืองสุพรรณบุรี กลับมีความเจริญเข้ามาแทนที่

            แค้วนอู่ทองหรือสุพรรณบุรี อาจเป็นเมืองเดิมของพระเจ้าอู่ทองก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พระเจ้าอู่ทอง ทรงพาผู้คนอพยพหนีโรคระบาดจากแคว้นสุพรรณภูมิมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุง ศรีอยุธยา และต่อมาทรงตั้งให้ ขุนหลวงพะงั่ว ญาติผู้ใหญ่ของพระองค์ไปครองเมืองสุพรรณบุรีแทนแคว้นละโว้หรือลพบุรี

แคว้นละโว้หรือลพบุรี
             เมืองละโว้เป็นชุมชนโบราณ ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 โดย "พระยากาฬวรรณดิศราช" กษัตริย์นครปฐมเป็นผู้สั่งให้สร้างเมืองละโว้ขึ้น ในพ.ศ. 1002 แต่ทั้งเมืองละโว้ นครปฐม อู่ทอง และสุพรรณภูมิ ล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ทั้งสิ้น โดยละโว้มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองลูกหลวงทางด้านตะวันออกของอาณาจักร

            แคว้นละโว้มีความเจริญทางวัฒนธรรมและเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ความเจริญของละโว้แผ่ขยาย ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณปากอ่าวไทยขึ้นไปตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออกจน ถึง เมืองนครสวรรค์และเมืองหริภุญไชย

            แคว้นละโว้เริ่มรับวัฒนธรรมฮินดูและพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายานจากเขมรอย่างมาก ตั้งแต่ในพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา โดยเชื่อว่าแคว้นละโว้ตกอยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของเขมร เพราะก่อนหน้านี้ละโว้เคยส่งทูตไปเมืองจีนอย่างสม่ำเสมอ แต่หลังจาก พ.ศ.1544 ก็ไม่ได้ส่งไปอีกเลย

แคว้นละโว้ย้ายราชธานีใหม่ ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 17

               แคว้นละโว้ถูกคุกคามโดยกองทัพของพระเจ้าอโนรธามังช่อ กษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกาม (พม่า) เมื่อประมาณ พ.ศ. 1601
               พระนารายณ์กษัตริย์ของแคว้นละโว้ ได้ย้ายราชธานีใหม่มาตั้งตรงปากแม่น้ำลพบุรี (บริเวณที่แม่น้ำลพบุรีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา) เมื่อ พ.ศ. 1625 และตั้งชื่อว่า "กรุงอโยธยา" ส่วนเมืองละโว้เดิมได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ลพบุรี" และมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงอโยธยา หรือแคว้นอโยธยา ตั้งแต่บัดนั้น


กรุงอโยธยา หรือแคว้นอโยธยา

            แค้วนอโยธยามีอำนาจปกครองในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างจนถึงพุทธ ศตวรรษที่ 19  สันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น ได้อพยพพาผู้คนมาตั้งเมืองใหม่ที่ หนองโสน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่เดิมมากนัก สถาปนาเป็นกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1893 และยกฐานะ ลพบุรี ให้เป็นเมืองลูกหลวงการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

            สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นผู้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 ซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า พระองค์สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด และมีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากที่ใด มีข้อสันนิษฐานในเรื่องดังกล่าว 3 ประการ ดังนี้

            มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอู่ทอง แคว้นสุพรรณภูมิ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1890 เมืองอู่ทองซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำจระเข้สามพัน ประสบภัยธรรมชาติ ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน ขาดแคลนน้ำ จึงเกิดโรคระบาด (โรคห่าหรืออหิวาตกโรค) มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงทรงทิ้งเมือง อพยพผู้คนข้ามฟากแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) ใช้เวลาสร้างเมืองใหม่ 3 ปี และสถาปนาขึ้นเป็นกรุงศรีอยุธยา ราชธานีแห่งใหม่ ใน พ.ศ.1893
             มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอโยธยา บริเวณปากแม่น้ำลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นละโว้ โดยพระเจ้าอู่ทองทรงอพยพไพร่พลทิ้งเมืองอโยธยา หนีภัยอหิวาตกโรคระบาด มาสร้างเมืองใหม่เช่นกัน มีฐานะเป็นพระราชโอรสของแคว้นละโว้ พระราชบิดาของพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นละโว้ และมอบหมายให้พระเจ้าอู่ทองไปครองเมืองเพชรบุรี ในฐานะเมืองลูกหลวง ครั้งเมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระเจ้าอู่ทองจึงเสด็จกลับมาครองราชวมบัติในแคว้นละโว้ และต่อมาได้ย้ายมาตั้งราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา
            การถือกำเนิดของอาณาจักรอยุธยา ใน พ.ศ. 1893 เป็นช่วงที่อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยอีกกลุ่มหนึ่งทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่ม เสื่อมอำนาจลง ตรงกับรัชการพระมหาธรรมราชาลิไทยแห่งกรุงสุโขทัย ในขณะที่ดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างก็ยังคงมีแคว้นของคนไทยตั้งบ้าน เมืองมั่นคงเป็นปึกแผ่นอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ลพบุรี และสุพรรณบุรี ซึ่งต่อมาถูกรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาในที่สุดปัจจัยที่ สนับสนุนให้การสถาปนากรุงศรีอยุธยาประสบความสำเร็จ

ปัจจัยที่สนับสนุนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา

        1. ความเข้มแข็งทางการทหาร สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นละโว้ หรือดเป็นเจ้าเมืองที่มาจากเมืองอู่ทองอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงมีกำลังทหารเข้มแข็ง มีกำลังไพร่พลมาก และมีลักษณะเป็นผู้นำทางการเมืองที่ผู้คนยอมรับ จึงให้การสนับสนุนในด้านกำลังคนอย่างเต็มที่

        2. การดำเนินนโยบายทางการทูตที่เหมาะสมกับดินแดนใกล้เคียง พระเจ้าอู่ทองได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งแคว้นสุพรรณภูมิ จึงเป็นการเชื่อมโยงแค้วนละโว้และแคว้นสุพรรณภูมิให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว กัน ทำให้ทั้งสองอาณาจักรลดการแข่งขันทางการเมืองซึ่งกันและกัน

        3. การปลอดอำนาจทางการเมืองภายนอก ในขณะนั้น อาณาจักรสุโขทัยของคนไทยด้วยกันที่อยู่ทางตอนเหนือ และอาณาจักรเขมร ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง จึงไม่สามารถสกัดกั้นการก่อตั้งอาณาจักรใหม่ของคนไทยได้

        4. ทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์ กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำไหลผ่าน ถึง 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา   ป่าสักและลพบุรี   ทำให้เป็นที่ราบลุ่มต่ำ ข้าศึกจะล้อมกรุงศรีอยุธยาได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมรอบตัวเมืองทำให้ข้าศึกต้องถอนทัพกลับไป

        5. ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านเศรษฐกิจ ลักษณะภูมิประเทศของอยุธยาเป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่ น้ำที่สำคัญ   ประกอบกับอยู่ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีการคมนาคมทางน้ำสะดวกทำให้สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศได้ง่ายการ สร้างความมั่นคงของอาณาจักรอยุธยา

           ภายหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพยายามสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นให้แก่ อาณาจักร โดยการดำเนินการทางการเมือง ดังต่อไปนี้

          1. การขยายอำนาจไปยังอาณาจักรเขมร เนื่องจากเขมรเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคนี้มาก่อน มีอาณาจักรตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอยุธยา ทำให้คนไทยเกิดความหวาดระแวงไม่ปลอดภัย

          รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง ได้ส่งกองทัพอยุธยาไปตีเขมร  2   ครั้ง ใน พ .ศ. 1895 และ 1896 ทำให้เขมรเสื่อมอำนาจลง ต้องย้ายเมืองหลวงหนี ทางฝ่ายไทยได้กวาดต้อนพราหมณ์ในราชสำนักเขมรมายังกรุงศรีอยุธยา เป็นผลให้เกิดการแพร่หลาย ศิลปวัฒนธรรมเขมรในไทยมากขึ้น
          รัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (สมเด็จพระเจ้าสามพระยา) เขมรต้องตกเป็นประเทศราชของไทย ทางอยุธยายินยอมให้เขมรได้ปกครองตนเอง โดยส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี

2. การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เหตุการณ์สำคัญดังนี้

           รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง กองทัพอยุธยาตี เมืองสรรค์(ชัยนาท) เมืองหน้าด่านของสุโขทัยไว้ได้ใน พ .ศ. 1900  แต่พระยาลิไทย กษัตริย์สุโขทัยได้ส่งทูตมาเจรจาขอคืน ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรทั้งสองยังดำเนินไปด้วยดี
           รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้ยกกองทัพไปตีอาณาจักรสุโขทัยหลายครั้ง ใน พ.ศ. 1921 ได้เข้ายึดเมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) เมืองหน้าด่านของอาณาจักรสุโขทัย พระยาไสยลือไทย กษัตริย์สุโขทัยต้องยอมอ่อนน้อมไม่คิดต่อสู้ ทำให้อยุธยามีอำนาจเหนืออาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่บัดนั้น โดยยินยอมให้สุโขทัยปกครองตนเองในฐานะประเทศราช
           รัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช ได้เสด็จขึ้นมาไกล่เกลี่ยปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระราชวงศ์ของ สุโขทัยด้วยกัน ใน พ.ศ. 1962 จนเหตุการณ์ยุติด้วยดี ในรัชกาลนี้สุโขทัยกับอยุธยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกันมากขึ้น เมื่อมีการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าสามพระยาพระโอรสแห่งกรุงศรีอยุธยากับพระ ธิดาแห่งกรุงสุโขทัย
           รัชกาลพระบรมราชาธิราช ที่ 2 (สมเด็จเจ้าสามพระยา) โปรดให้พระราชโอรส พระราเมศวร (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) ในฐานะที่ทรงมีเชื้อสายสุโขทัย ขึ้นปกครองอาณาจักรสุโขทัย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ พิษณุโลก   เป็นผลให้สุโขทัยกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 1983 เป็นต้นมา

           3. การขยายดินแดนให้กว้างขวาง ทำให้เป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองของคนไทย  อาณาจักรอยุธยาได้ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมพื้นที่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งตอนบนและตอนล่าง กลายเป็นอาณาจักรของคนไทยที่เข้มแข็งที่สุด และเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจทางการเมืองของคนไทยในสมัยนั้นอย่างแท้จริง มีอาณาเขต ดังต่อไปนี้

           ทิศเหนือ จรดอาณาจักรล้านนา และสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยด้วยกัน ต่อมาสุโขทัยถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา ในขณะที่อาณาจักรล้านนาตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาและพม่าสลับกัน
           ทิศตะวันออก จรดอาณาจักร เขมรหรือขอม ซึ่งบางสมัยต้องตกเป็นประเทศราชของไทย และบางสมัยก็แข็งเมืองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อไทย
           ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นอาณาจักรของชนชาติลาว มีความเข้มแข็งทางการเมืองรองจากอยุธยา และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
           ทิศตะวันตก อยุธยามีอำนาจครอบครองอาณาจักรมอญ แถบเมืองหงสาวดี เมืองเมาะตะมะ เมืองทวาย เมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด แต่ต่อมาก็ต้องสูญเสียให้แก่พม่าในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21
ทิศใต้ อยุธยามีอำนาจเหนือแคว้นนครศรีธรรมราช และหัวเมืองมะลายูบางเมือง เช่น ปัตตานี กลันตัน และไทรบุรี เป็นต้น